วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555


สุขภาพที่ดี
  หมายถึง ผู้ที่มีภาวะการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ในด้านต่างๆ มีจิตใจแจ่มใส อารมณ์เบิกบาน อยู่ในสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดีไม่เจ็บป่วย ไม่มีโรคประจำตัวและร่างกายแข็งแรง

สุขบัญญัติ 10 ประการ

            สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน


1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด
          -  อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
           -  ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรค
           - ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน
           - ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ
           -  จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี
          -  แปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนนอน
           - ถูหรือบ้วนปาก หลังทานอาหาร
           - เลือกใช้ยาสีฟันและฟลูออไรด์
           - หลีกเลี่ยงการทานลูกอม ลูกกวาด ท็อฟฟี่ ขนมหวานเหนียวต่าง ๆ เพื่อป้องกันฟันผุ
           - ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
           -ไม่ควรใช้ฟันกัดขบของแข็ง

3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
คือ ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการเตรียม ปรุง และรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการขับถ่าย

4.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
งดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้สารเสพติด งดเล่นการพนัน นอกจากนี้ต้องส่งเสริมค่านิยม รักนวลสงวนตัว และมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอัน

5.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
     -  เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงหลัก 3 ป คือ ประโยชน์ ปลอดภัย และประหยัด
     - ปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงหลัก 3 ส คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ และสะอาดปลอดภัย
     -  ทานอาหารที่มีการจัดเตรียม การประกอบอาหาร และใส่ในภาชนะที่สะอาด
     -  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
     -  รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการทุกวัน
      -  ทานอาหารปรุงสุกใหม่ รวมทั้งใช้ช้อนกลางในการทานอาหารร่วมกัน
      -  หลีกเลี่ยงทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารรสจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารใส่สีฉูดฉาด
      -   ดื่มน้ำสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
      -   ทานอาหารให้เป็นเวลา

6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น




- ให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน
 - สมาชิกทุกคนในครอบครัวควรปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
 - เผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกัน
 - จัดกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน
 - ชวนกันไปทำบุญ

7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
  -  ระมัดระวังป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดภายในบ้าน เช่น เตาแก๊ส ไฟฟ้า ธูปเทียนที่จุดบูชาพระ ฯลฯ
   -  ระมัดระวังในการป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น ปฏิบัติตามกฏของการจราจรทางบก ทางน้ำ ป้องกันอันตรายจากโรงฝึกงาน ห้องปฏิบัติการ เขตก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการชุมนุมห้อมล้อม ในขณะเกิดอุบัติภัย 
  
8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี
           - ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
           - ออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัย
           -  ตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ


อ่านหนังสือ
 
       
         -  พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างต่ำ 8 ชั่วโมง
         - จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และที่ทำงานให้น่าอยู่
         - หาทางผ่อนคลายความเครียด เมื่อมีปัญหา หรือเรื่องไม่สบายใจรบกวน อาจหางานอดิเรกทำ ใช้เวลาว่างไปกับการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์
          -  ช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา

10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม เช่น
       - กำจัดขยะภายในบ้าน และทิ้งขยะในที่รองรับ
       - หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก สเปรย์ เป็นต้น
       - มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
       - กำจัดน้ำทิ้งในครัวเรือนและโรงเรียนด้วยวิธีที่ถูกต้อง
       - ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
        - อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชน ป่า น้ำ และสัตว์ป่า เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จังหวะการเต้นจังหวะบีกิน (BEGUINE)


การเต้นลีลาศจังหวะบีกิน (BEGUINE)

  จังหวะบีกิน เป็นจังหวะลีลาศประเภทเบ็ดเตล็ด ที่มีลักษณะการเต้นรำรูปแบบเดียวกับจังหวะประเภทลาตินอเมริกัน  นิยมเต้นรำกันมากในงานสังคมลีลาศทั่วไปของประเทศไทย จังหวะบีกินเป็นจังหวะที่ฝึกหัดง่าย  ฉะนั้น ในการฝึกลีลาศเบื้องต้น สังคมไทยจึงนิยมที่จะฝึกจังหวะบีกินเป็นจังหวะแรก  เพราะทำให้ผู้ฝึกเต้นรำเกิดความมั่นใจ ก่อนที่จะฝึกเต้นรำในจังหวะที่ยากต่อไป 
    การเต้นรำจังหวะบีกินในแต่ละสถานที่ก็มีรูปแบบและลวดลาย (Figures) แตกต่างกันไป ในที่นี้การเดินจังหวะบีกินจะเน้นการ วางฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนวางราบลงเต็มเท้าในลักษณะเดียวกับจังหวะประเภทลาตินอเมริกัน
  ซึ่งจังหวะบีกินมีรูปแบบพื้นฐาน ดังต่อไปนี้




1. การนับจังหวะ ดนตรีของจังหวะบีกินเป็นแบบ 4/4 ( มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง)

         สามจังหวะแรก เป็นเสียงหนัก จังหวะที่ 4 เป็นเสียงเบา
 การนับจังหวะจะนับ 1 , 2 , 3 , แตะ หรือ 1 , 2 , 3 , พัก ( จังหวะแตะ หรือ พัก หมายถึง การงอเข่า แตะปลายเท้าไว้ที่พื้นไม่วางเต็มเท้า) ความช้า - เร็ว ของจังหวะทุกจังหวะจะเท่ากันหมด ความเร็วของจังหวะบีกินประมาณ 28 – 32 ห้องเพลงต่อนาที

2. การจับคู่ เป็นการจับคู่แบบบอลรูมปิด จังหวะประเภทลาตินอเมริกัน 

3. การยืน ยืนหันหน้าเข้าหาคู่เต้นรำ

ผู้ชาย ยืนหันหน้าตามแนวเต้นรำ

ผู้หญิง ยืนหันหน้าย้อนแนวเต้นรำ


4. การก้าวเท้า

      การก้าวเท้าใช้การก้าวเท้าไปข้างหน้าและการถอยเท้าไปข้างหลังฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนวางราบลงเต็มเท้า     เท้าที่รับน้ำหนักตัว เข่าจะเหยียดตึง เท้าที่กำลังก้าวเข่าจะงอสลับกันไปมา สะโพกบิดอย่างเป็นธรรมชาติ  และสวยงามจากการถ่ายน้ำหนักลงที่เท้า ศีรษะตรง ลำตัวนิ่ง
 

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติกีฬาลีลาศทั้งในประเทศและต่างประเทศ





ประวัติความเป็นมา

            ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)
            การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า “โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
            เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า “โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
            สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
            แซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น “โคแรนโท” (Coranto)
            การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
            การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
            ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
            ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ Syncopation มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร
            ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot)
            เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา

ประวัติกีฬาลีลาศในประเทศไทย 
         แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ว่ากีฬาลีลาศแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โดยมีบันทึกของหม่อมแอนนา ว่าได้ลองแนะนำให้ท่านรู้จักกับการเต้นของชนชั้นสูง แต่ท่านกลับรู้จักการเต้นชนิดนั้นได้ดีอยู่แล้ว จึงคาดว่าน่าจะทรงศึกษาจากตำราต่างประเทศด้วยพระองค์เอง
          ต่อมาลีลาศค่อย ๆ เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และมีการจัดตั้ง สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ ขึ้นใน พ.ศ. 2475 โดยมี หม่อมเจ้าไวทยากร วรวรรณ เป็นประธาน และจัดการแข่งขันเต้นรำขึ้นที่ วังสราญรมย์ โดยมี พลเรือตรี เฉียบ แสงชูโต และ คุณประนอม สุขุม เป็นผู้ชนะในครั้งนั้น และคำว่า "ลีลาศ" ก็ได้ถูกบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2476 และเกิด สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแทน สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ
          หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การเต้นลีลาศก็ซบเซาลงไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่งยื่นจดทะเบียนสมาคมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และใช้ชื่อว่า สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา

ความมุ่งหมายของการลีลาศ

1. เพื่อให้รู้จักหลักเบื้องต้นของลีลาศ เช่น การยืน การเดิน การจับคู่และการลีลาศ
2. ให้สามารถลีลาศในท่าเบื้องต้นได้ ถูกต้องตามแบบและเข้าจังหวะดนตรีได้
3. เพื่อให้เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการลีลาศ
4. เพื่อให้มีมนุษย์สำพันธ์ดี
5. เพื่อให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
6.เพื่อเป็นการออกกำลังกาย
7. เพื่อให้รู้จักวิธีการต่างๆของลีลาศ 

    ประโยชน์ของการลีลาศ

    1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินใจ
    
2. ช่วยให้มีบุคลิกภาพด้านการเคลื่อนไหวสง่างามขึ้น
    3. ช่วยให้เป็นคนกล้าแสดงออก
    4. ช่วยให้มีสัมพันธมิตรกว้างขวางขึ้น
    
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งทางกายและใจ
    
6. ช่วยให้มีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น
    7. ช่วยสนองความต้องตามธรรมชาติของมนุษย์ ก่อให้เกิดความพึงพอใจ
    
8. ช่วยจรรโลงวัฒนธรรม
    9. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
   10. ช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ทำให้ชีวิตยืนยาว 

มารยาทการเต้นลีลาศ
1. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะซึ่งจะเป็นการสร้างความสนใจในบุคลิกภาพของตนเอง
2. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว

3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือกับคู่ลีลาศ
ของตน

4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจในการเต้นลีลาศ
5. สุภาพบุรุษต้องให้เกียติสุภาพสตรี และบุคคลอื่นในทุก สถาณการณ์ และจะต้องไปรับ  สุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
 

6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุในบัตรเชิญ
7. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของคบเคี้ยวใดๆ ในขณะลีลาศ
8. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเอง หรือคู่ลีลาศ
9. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเมามากไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
10. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน