วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติกีฬาลีลาศทั้งในประเทศและต่างประเทศ





ประวัติความเป็นมา

            ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)
            การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า “โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
            เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า “โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
            สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
            แซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น “โคแรนโท” (Coranto)
            การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
            การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
            ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
            ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ Syncopation มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร
            ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot)
            เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา

ประวัติกีฬาลีลาศในประเทศไทย 
         แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ว่ากีฬาลีลาศแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โดยมีบันทึกของหม่อมแอนนา ว่าได้ลองแนะนำให้ท่านรู้จักกับการเต้นของชนชั้นสูง แต่ท่านกลับรู้จักการเต้นชนิดนั้นได้ดีอยู่แล้ว จึงคาดว่าน่าจะทรงศึกษาจากตำราต่างประเทศด้วยพระองค์เอง
          ต่อมาลีลาศค่อย ๆ เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และมีการจัดตั้ง สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ ขึ้นใน พ.ศ. 2475 โดยมี หม่อมเจ้าไวทยากร วรวรรณ เป็นประธาน และจัดการแข่งขันเต้นรำขึ้นที่ วังสราญรมย์ โดยมี พลเรือตรี เฉียบ แสงชูโต และ คุณประนอม สุขุม เป็นผู้ชนะในครั้งนั้น และคำว่า "ลีลาศ" ก็ได้ถูกบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2476 และเกิด สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแทน สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ
          หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การเต้นลีลาศก็ซบเซาลงไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่งยื่นจดทะเบียนสมาคมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และใช้ชื่อว่า สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา

ความมุ่งหมายของการลีลาศ

1. เพื่อให้รู้จักหลักเบื้องต้นของลีลาศ เช่น การยืน การเดิน การจับคู่และการลีลาศ
2. ให้สามารถลีลาศในท่าเบื้องต้นได้ ถูกต้องตามแบบและเข้าจังหวะดนตรีได้
3. เพื่อให้เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการลีลาศ
4. เพื่อให้มีมนุษย์สำพันธ์ดี
5. เพื่อให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
6.เพื่อเป็นการออกกำลังกาย
7. เพื่อให้รู้จักวิธีการต่างๆของลีลาศ 

    ประโยชน์ของการลีลาศ

    1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินใจ
    
2. ช่วยให้มีบุคลิกภาพด้านการเคลื่อนไหวสง่างามขึ้น
    3. ช่วยให้เป็นคนกล้าแสดงออก
    4. ช่วยให้มีสัมพันธมิตรกว้างขวางขึ้น
    
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งทางกายและใจ
    
6. ช่วยให้มีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น
    7. ช่วยสนองความต้องตามธรรมชาติของมนุษย์ ก่อให้เกิดความพึงพอใจ
    
8. ช่วยจรรโลงวัฒนธรรม
    9. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
   10. ช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ทำให้ชีวิตยืนยาว 

มารยาทการเต้นลีลาศ
1. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะซึ่งจะเป็นการสร้างความสนใจในบุคลิกภาพของตนเอง
2. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว

3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือกับคู่ลีลาศ
ของตน

4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจในการเต้นลีลาศ
5. สุภาพบุรุษต้องให้เกียติสุภาพสตรี และบุคคลอื่นในทุก สถาณการณ์ และจะต้องไปรับ  สุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
 

6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุในบัตรเชิญ
7. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของคบเคี้ยวใดๆ ในขณะลีลาศ
8. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเอง หรือคู่ลีลาศ
9. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเมามากไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
10. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน